Specialty coffee คืออะไร พร้อม 4 ข้อมูลต่าง ๆ ที่คอกาแฟควรรู้
กาแฟเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มยอดฮิตที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนวัยทำงาน เพราะ เมนูกาแฟ ช่วยเพิ่มพลังและเติมแรงในการทำงานให้กับผู้คนในทุก ๆ เช้าเนื่องจากส่วนประกอบหลักสำคัญอย่างคาเฟอีนที่เข้าไปขัดขวางการทำงานของสารที่ทำให้รู้สึกง่วง จึงกล่าวได้ว่าคาเฟอีนเป็นสารแก้ง่วงนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันกาแฟก็มีหลายประเภทด้วยกัน ทั้งรสชาติที่แตกต่างกันไปจนถึงกลิ่นและสีหรือปริมาณคาเฟอีนก็ขึ้นอยู่กับชนิดกาแฟนั้น ๆ อย่างไรก็ตามก็ยังมีกาแฟอีกประเภทที่ได้รับความนิยมในตอนนี้ นั่นก็คือ Specialty Coffee ซึ่งเราสามารถหาคำตอบว่า specialty coffee คืออะไร ได้ผ่านบทความนี้โดยตรง
specialty coffee คืออะไร
- specialty coffee คืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่
- จุดเริ่มต้นของ Specialty Coffee
- การถือกำเนิดของ SCAA
- การวัดคะแนน Specialty Coffee
- Specialty Coffee รสชาติเป็นอย่างไร
- ทำไม Specialty Coffee ถึงได้รับความนิยม
- กาแฟพิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่วไปอย่างไร
- 3 เมนูกาแฟ Specialty Coffee ที่ได้รับความนิยม
- สรุปทิ้งท้าย
specialty coffee คืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่
specialty coffee คืออะไร ตอบได้ว่าเป็นกาแฟชนิดพิเศษ ที่ผ่านกรรมวิธี คัด คั่ว บด และชง ออกมา โดยได้รับการตัดสินจากคณะกรรมการหรือที่เรียกกันว่า Cupper หรือ Q-Grader จากสมาคม SCAA หรือ Specialty Coffee Association Of America โดยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกที่พิถีพิถันมากถึง 10 ขั้นตอนด้วยกัน ทั้งนี้นอกจากเรื่องของการผลิตกาแฟชนิดพิเศษดังกล่าว ที่มาของกาแฟ Specialty Coffee ยังมีเรื่องอื่น ๆ อีก ดังต่อไปนี้
จุดเริ่มต้นของ Specialty Coffee
แรกเริ่ม Specialty Coffee มีที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1970 หลังสงคราม ที่ผู้คนล้วนดื่มกาแฟกันเพิ่มมากขึ้น โดยได้รับการโฆษณาครั้งแรกผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อว่า Tea and Coffee Trade Journal โดยคอนเซปต์ของกาแฟชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อต้อนรับโลกใหม่ ซึ่งมาพร้อมกับความสะดวกสบายและความรวดเร็วจากกรรมวิธีการผลิตซึ่งช่วยตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม
การถือกำเนิดของ SCAA
SCAA หรือ สมาคมกาแฟพิเศษแห่งสหรัฐอเมริกา (Specialty Coffee Association Of America) ถูกจัดตั้งขึ้นหลังจากที่มีการผลิตกาแฟคุณภาพต่ำออกมาเป็นจำนวนมากเกินไป ทำให้วงการคนรักกาแฟทนไม่ไหว ร่วมใจกันก่อตั้งสมาคมกาแฟขึ้น (SCAA) ซึ่งสมาคมดังกล่าวจะสนับสนุนการผลิตกาแฟคุณภาพสูง มีมาตรฐาน และรสชาติดีเท่านั้น
การวัดคะแนน Specialty Coffee
ในการวัดคะแนนของเมล็ดกาแฟว่าเหมาะสมที่จะเป็น Specialty Coffee หรือไม่ ก็จะต้องผ่านกระบวนการทั้งการทดสอบคุณภาพ กลิ่นและรสชาติ โดยจะต้องทำคะแนนให้ได้มากถึง 80 คะแนนขึ้นไปเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้เกณฑ์การให้คะแนนก็จะแบ่งออกเป็น 10 อย่าง ดังนี้
- กลิ่น (Aroma) : กลิ่นหอมของเมล็ดกาแฟจะต้องอยู่ได้นานเกินกว่า 15 นาที และกลิ่นของกาแฟยังต้องระเหยออกมาขณะที่มีน้ำร้อนไหลผ่าน
- รส (Flavor) : กลิ่นและรสสัมผัสเมื่อชิม
- รสที่ค้างอยู่ในลำคอ (Aftertaste) : เมื่อกลืนลงไปแล้ว รสชาติติดอยู่ในลำคอนานแค่ไหน และน่าประทับใจมากน้อยเพียงใด
- ความเปรี้ยว (Acidity) : กาแฟสดจากเมล็ดกาแฟจะมีระดับความเปรี้ยวแตกต่างกันออกไป ซึ่งมีส่วนในการถูกพิจารณาด้วย
- ความหนักเบาของกาแฟ (Body) : ในที่นี้หมายถึง ขนาดและน้ำหนักของเมล็ดกาแฟต่อเม็ด ขนาดไม่ใหญ่ไปและไม่เล็กจนเกินไป อีกทั้งยังควรมีขนาดไล่เรี่ยกันทั้งหมด
- ความสมดุล (Balance) : ทั้งรสชาติทั้งก่อนและหลังชิม ความเปรี้ยว กลิ่น และบอดี้ของเมล็ดกาแฟจะต้องสอดคล้องกัน
- ความไม่แตกต่างจากกันหรือมาตรฐานเท่ากัน (Uniformity) : จะทดสอบด้วยการแบ่งกาแฟออกเป็น 5 แก้ว ด้วยปริมาณน้ำเท่า ๆ กัน หลังจากนั้นจะมีการชิมว่ามีกาแฟแก้วใดที่รสชาติแตกต่างออกไปหรือไม่
- ความรู้สึกสะอาดภายในรสชาติ (Clean cup) : กลิ่นและรสชาติจะต้องชิมแล้วรู้สึกสะอาด
- ความหวาน (Sweetness) : เมื่อกาแฟ ถูกกระตุ้นด้วยน้ำร้อน สารประกอบภายในจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ทำให้สามารถรับรสชาติของความหวานได้ไม่มากก็น้อย
- ภาพรวม (Overall) : จะเป็นคะแนนที่ได้รับจากนักชิม ซึ่งพิจารณาและให้คะแนนจากการดูคุณลักษณะของกาแฟ
Specialty Coffee รสชาติเป็นอย่างไร
โดยพื้นฐานกาแฟ Specialty Coffee จะมีการรักษาระดับการคั่วให้อ่อน เพื่อคงกลิ่นและรสชาติของกาแฟแบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยส่วนใหญ่กาแฟแบบพิเศษเหล่านี้จึงมาพร้อมกับรสชาติเปรี้ยวที่เป็นเอกลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น กาแฟจากประเทศเอธิโอเปีย ก็จะมาพร้อมกับกลิ่นหอมของดอกไม้ หรือจะเป็นกาแฟจากประเทศบราซิลจะมีกลิ่นหอมหวาน โดดเด่นคล้ายคาราเมล เป็นต้น
ทำไม Specialty Coffee ถึงได้รับความนิยม
กาแฟชนิดพิเศษได้รับความนิยมเป็นอย่างมากด้วยเหตุผลที่เข้าใจได้ง่ายเพียงแค่ 4 ประการเท่านั้น ดังนี้
- ได้รับการการันตีในเรื่องของคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ
- กลิ่นและรสชาติมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองแตกต่างกันออกไปตามชนิดของกาแฟ
- ทำให้ผู้ดื่มรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการดื่มกาแฟ ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับรสชาติกาแฟเดิม ๆ
- ความชอบกาแฟชนิดพิเศษสามารถต่อยอดละกลายเป็นธุรกิจในตลาดประเทศไทยที่ได้รับความนิยมได้เช่นเดียวกัน
กาแฟพิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่วไปอย่างไร
ในหัวข้อก่อนหน้าไม่ได้มีการกล่าวถึงว่ากาแฟชนิดพิเศษแตกต่างจากกาแฟทั่ว ๆ ไปอย่างไร ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะขอนำกาแฟธรรมดามาเปรียบเทียบกับกาแฟชนิดพิเศษหรือ Specialty Coffee ว่าแตกต่างกันอย่างไรให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
- กาแฟชนิดพิเศษจะต้องได้รับการคัดสรรโดยคณะกรรมการ ทั้งนี้จะต้องมีคะแนนมากกว่า 80 คะแนนเป็นต้นไปจากเกณฑ์การคัดเลือกที่ได้กล่าวถึงในหัวข้อก่อนหน้านี้
- กาแฟชนิดพิเศษจะมีกลิ่นและรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์หลังจากได้รับการบด แตกต่างจากกาแฟทั่วไปที่ชงแล้วจะรับรู้ได้ถึงรสขมเป็นหลักเท่านั้น
- กาแฟชนิดพิเศษผ่านกรรมวิธีที่พิถีพิถันมากกว่ากาแฟธรรมดาหลายเท่า โดยเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกไปจนถึงการนำเมล็ดกาแฟไปใส่ในบรรจุภัณฑ์ก็ล้วนแล้วแต่ได้รับความเอาใจใส่มากกว่า
3 เมนูกาแฟ Specialty Coffee ที่ได้รับความนิยม
ในปัจจุบันมีการนำเข้ากาแฟ Specialty Coffee มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้กาแฟประเภทดังกล่าวเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น โดยนำไปรังสรรค์ออกมาเป็นกาแฟที่ชูรสชาติและกลิ่นที่เด่นชัดได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ดังนี้
- Flat White : กาแฟที่มีความคล้ายคลึงกับกาแฟลาเต้ แต่มีโฟมนมน้อยกว่า เนื่องจากต้องการชูรสชาติและกลิ่นของกาแฟสดให้เด่นชัด
- Piccolo Latte : กาแฟนมที่ใส่นมน้อยกว่าปกติ เพื่อชูรสชาติของกาแฟให้เด่นกันชัด โดยที่รสชาติของกาแฟไม่เปรี้ยวเกินไปเนื่องจากความละมุนของนม
- Dirty : การเติมเอสเปรสโซ่ร้อนลงไปในนมที่เย็นจัดแบบไม่ต้องใส่น้ำแข็ง ซึ่งจะเสริมให้คุณรู้สึกได้ถึงความเย็นที่ละมุนลิ้นมากยิ่งขึ้น แบบไม่ต้องคน
สรุปทิ้งท้าย
ก็คงจะเห็นกันแล้วว่า specialty coffee คืออะไร และแตกต่างออกไปจาก กาแฟ ทั่วไปในด้านของการผลิตและกรรมวิธีต่าง ๆ ที่พิถีพิถันมากกว่าหลายเท่า ทำให้กาแฟ Specialty Coffee ยังคงรสชาติดั่งเดิมของตัวเมล็ดเอาไว้ได้ ไม่ใช่แค่มีรสขม แต่มาพร้อมกับรสเปรี้ยวและรสหวาน รวมทั้งกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปแล้ว specialty coffee นี้จะหาได้ทั่วไปตามคาเฟ่หรือร้านกาแฟที่มีการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากสถานที่ต่างๆ โดยสามารถอ่านรีวิวเกี่ยวกับคาเฟ่เพิ่มเติมจากทางชอบไปคาเฟ่ได้เลยค่ะ
0 Comments